3.4 แนวทางการเลือกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
3.4 แนวทางการเลือกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
การเลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น นักเรียนควรวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีแต่ะละประเภทก่อนทำการตัดสินใจเลือกนำมาใช้งาน โดยควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1.ปัจจัยด้านความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเลือกจากเทคโนโลยีซึ่งผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัย เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นต้น
2. ปัจจัยด้านสังคม โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ ชุมชน วัตนธรรม และสภาพเศรษฐกิจ เช่น การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้สำหรับการเรียนแบบทางไกล เป็นต้น
3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น
4. ปัจจัยด้านราคา โดยเลือกจากเทคโนโลยีที่มีราคาเหมาะสมกับความต้องการในการใช้งานและมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานต่ำ เช่น สินค้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น
3.3 เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
3.3 เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
มนุษย์ใช้เทคโนโลยีด้านสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารระหว่างกัน พัฒนาการด้านการสื่อสารส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์หลายด้าน เช่น ช่วยให้ได้รับความสะดวกในการสื่อสาร ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารได้สะดวก ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น
😊 โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา😋
😊 อินเทอร์เน็ต 😋
3.2 เทคโนโลยีด้านพลังงาน
3.2 เทคโนโลยีด้านพลังงาน
พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์ใช้ประโยชน์จากพลังงานในหลายรูปแบบ เช่น ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ใช้เป็นแก๊สหุงต้มสำหรับประกอบอาหาร เป็นต้น เทคโนโลยีด้านพลังงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น
พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์ใช้ประโยชน์จากพลังงานในหลายรูปแบบ เช่น ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ใช้เป็นแก๊สหุงต้มสำหรับประกอบอาหาร เป็นต้น เทคโนโลยีด้านพลังงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น
👽 โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล👽
พลังงานก๊าซธรรมชาติ |
👽 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 👽
พลังงานนิวเคลียร์ |
👽 โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 👽
พลังงานลม |
3.1 เทคโนโลยีด้านการเกษตร
3.การเลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการในการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในแต่ละช่วงเวลา เทคโนโลยีแต่ละประเภทส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์และด้านที่เป็นโทษ ผลกระทบอันเนื่องมาจากเทคโนโลยี เช่น
3.1 👉เทคโนโลยีด้านการเกษตร👀
💦 เครื่องมือทางการเกษตร 💦
💦ปุ๋ย💦
👉ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
👉ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เกิดจากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
💦การกำจัดศัตรูพืชและสัตว์💦
👉การกำจัดศัตรูพืชและสัตว์โดยไม่ใช้สารเคมี
👉การกำจัดศัตรูพืชและสัตว์โดยสารเคมี
💦เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ💦
เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ เป็นการนำเทคโนโลยีหลายแขนง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีระบบควบคุม เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ มาประยุกต์ใช้ด้านเกษตรกรรมเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมีข้อดีหลายประการ เช่น สามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เหมาะสม สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของผลผลิต ลดการใช้แรงงานภาคเกษตร ลดต้นทุนในการผลิต เฝ้าระวังโรคระบาด แต่เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมีต้นทุนด้านเทคโนโลยีสูง เกษตรกรจำเป็นต้องมีทักษะการใช้งานและดูรักษาเทคโนโลยี การทำงานของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารบางประเภทอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาวะแวดล้อม
2.5 ปัจจัยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดจากความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ
2.5 ปัจจัยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดจากความก้าวหน้าของ ศาสตร์ต่าง ๆ
การค้นพบความรู้ วิทยาการ หรือเทคโนโลยีใหม่ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในขณะนั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีในแต่ละช่วงเวลา เช่น
ความก้าวหน้าด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและด้านอิเล็กทรอนิกส์
ความก้าวหน้าด้านการสื่อสาร
ความก้าวหน้าด้านเครื่องจักรและเครื่องมือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)